ข่าวสาร

ADR คืออะไร และ มีที่มาอย่างไร ?

ADR คือ อะไร ?
ADR หมายถึง ข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน โดย ADR ย่อมากจาก Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road

ADR มีที่มาอย่างไร ?
ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติด้านการขนส่งสินค้าอันตราย ภายใต้คณะกรรมาธิการแห่งสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council’s Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods) ได้จัดทำข้อแนะนำสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายหรือคู่มือเล่มสีส้ม (Orange Book) ครั้งแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1956 โดยมีวัตถุประสงค์ให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎหมายในประเทศ และหน่วยงานระหว่างประเทศภายใต้สหประชาชาติสามารถนำไปออกข้อกำหนดเฉพาะสำหรับแต่ละโหมดการขนส่ง ซึ่งการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดย ADR ที่จุดเริ่มต้นที่ ยุโรป

ในเวลาต่อมากระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนสงทางบก จึงได้จัดทำข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2547

โดยนำข้อกำหนดแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปภายใต้สหประชาชาติ (European Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road: ADR) ฉบับปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นความตกลงที่สอดคลองกบเอกสารแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนสงสินค้าอันตราย (UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods) มาปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลสหพันธสาธารณรัฐเยอรมันผ่าน Deutsche Gesellschaft fur Techniche Zusammenarbeit (GTZ) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักเกณฑ์และการบริหารจัดการด้านการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน

กรมการขนส่งทางบกได้ปรับปรุงข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยข้างต้นให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ตามข้อกำหนดแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนของ ADR ฉบับปี ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้แผนพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าอนตรายทางถนน พ.ศ. 2553 – 2562 ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้านการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economy Community: AEC) และโครงการพัฒนาความรวมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) รวมทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งสินค้าอันตรายรูปแบบการขนส่งอื่นๆ (Multimode) เช่น ทางรถไฟ ทางเรือ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถขนส่งได้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกันทั้งระบบ