ข่าวสาร

การจำแนกประเภทสินค้าอันตราย

สินค้าอันตรายในด้านหนึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งที่มาจากการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีหรือการนำสารหรือสิ่งของนั้นๆมาใช้โดยตรง โดยมนุษย์สามารถนําประโยชน์ดังกล่าวมาใช้งาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายและมีปริมาณการขนส่งมากที่สุด สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานสำหรับขับเคลื่อนเครื่องยนต์ของรถยนต์ การถูกนำใช้ในทางการแพทย์ การนำมาใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม การนำมาใช้ในทางเกษตรกรรมเป็นต้น แต่อีกด้านหนึ่งหากใช้ หรือจัดการ ไม่ถูกวิธีสินค้าอันตรายดังกล่าวก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อมในระหว่างการขนส่ง หรือขนถ่ายเคลื่อนย้ายได้

สินค้าอันตรายก็เหมือนกับสสารทั่วไป โดยมีสถานะได้ 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ โดยที่สถานะและคุณสมบัติทางกายภาพจะมีผลต่อการจัดการเพื่อการขนส่ง รวมถึงลักษณะของการบรรจุ (เช่น การขนส่งในรูปแบบของ บรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อ แบบแท็งก์ หรือแบบเทกอง) และความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือมีการรั่วไหลเกิดขึ้น

นอกจากเป็นสารที่เป็นได้ใน 3 สถานะแล้ว สินค้าอันตรายยังสามารถเป็น สิ่งของหรือวัตถุ (ที่มีสินค้าอันตรายอยู่ภายใน) เช่น พลุ ดอกไม้ไฟ แบตเตอรี่รถยนต์ ถุงลมนิรภัย สเปรย์กระป๋อง เป็นต้น

สินค้าอันตรายและวัตถุอันตรายมีความแตกต่างกันการควบคุมในบางเรื่อง สำหรับวัตถุอันตรายกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบโดยอ้างอิงต ามระบบการจำแนกและติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก หรือระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals) ภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ระบบ GHS เน้นการควบคุมสินค้าอันตรายในสถานประกอบการ โรงงาน ผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองตลอดจนผู้บริโภคที่ครอบคลุมความเป็นอันตรายทั้งเฉียบพลัน เช่น การระเบิด ไฟไหม้ กัดกร่อนเป็นต้น และเรื้อรัง เช่น การก่อมะเร็ง การเกิดภูมิแพ้ การระคายเคือง เป็นต้น

ซึ่งจะต่างจากกฎหมายการขนส่งสินค้าอันตรายที่เน้นการควบคุมเฉพาะความเป็นอันตรายเฉียบพลันเป็นหลัก

ในประเทศไทยข้อมูลการจําแนกประเภทสินค้าอันตราย ได้แสดงอยู่ในประกาศกรมการขนส่ง เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขั บรถ ชนิดที่ 4 พ.ศ. 2553 และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง รายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559 การจําแนกประเภทสินค้าอันตรายประกอบด้วยข้อมูลหลัก 4 ส่วน ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากตาราง A ในบทท 3.2 ของข้อกําหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย ได้แก่

  1. หมายเลขสหประชาชาติ
  2. ชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง
  3. หมายเลขฉลากแสดงประเภทความเป็นอันตราย
  4. กลุ่มการบรรจุ (สำหรับสินค้าอันตรายบางประเภท)

เมื่อเราสามารถจำแนกประเภทสินค้าอันตรายได้ เราก็สามารถที่จะทำการขนส่งสินค้าอันตรายได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยตามข้อกำหนดในการ ขนส่งสินค้าอันตรายของ UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods และรวมถึง Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR) เมื่อเราจะทำการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนต่อไป