ข่าวสาร

ใบอนุญาตการประกอบการขนส่งและหน้าที่ผู้ประกอบการขนส่ง

ปัจจุบันในการใช้รถเพื่อการขนส่ง ตามกฎหมายกำหนดให้ เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนเพื่อทำการขออนุญาตประกอบการขนส่ง ตามประเภทการใช้งานการขนส่งนั้นๆ ยกเว้น การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ สภากาชาดไทย สถานพยาบาล หรือ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้ประกอบการขนส่ง แต่สำหรับผู้ประกอบการขนส่งดังกล่าวต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัติการขน ส่งทางบก สมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทุกประการ

ใบอนุญาตประกอบการขนส่งในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทที่ 1) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง สำหรับการขนส่งตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งรถขนส่งในใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทนี้ ได้แก่ รถโดยสารประจำทางหมวดต่างๆ โดยใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง มีอายุ 7 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 2) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง สำหรับการขนส่งเพื่อรับจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง ซึ่งรถขนส่งในใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทนี้ ได้แก่ รถบรรทุกสินค้า (ป้ายเหลือง) รถโดยสารทัศนาจร (รถ 30) โดยใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง มีอายุ 5 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 3) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก สำหรับการขนส่งคนหรือสิ่งของ หรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อรับจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักรถ และน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม โดยใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก มีอายุ 5 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต
  • ประเภทที่ 4) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล สำหรับการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินสองพันสองร้อยกิโลกรั ม โดยใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต

หน้าที่ผู้ประกอบการขนส่ง

  • ผู้ประกอบการขนส่งจำเป็นจะต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่ง รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ผู้ประกอบการขนส่งต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถขนส่ง หากปรากฏว่ามีการใช้หรือยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถขนส่ง โดยผู้ขับขี่มีอาการเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นเสพยาเสพติดให้โทษ เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ประกอบการขนส่งต้องดูแลป้องกันมีให้ผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถขณะที่มีอาการเมสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หากปรากฏว่าผู้ขับรถได้มีการกระทำดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องร ะวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท
    เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นและได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้ องกันมีให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว โดยมีการเฝ้าระวัง การตรวจเช็คก่อนการขนส่ง การสุ่มตรวจระหว่างการปฏิบัติงานขนส่ง รวมถึงการตรวจสารเสพติดอยู่เป็นประจำ