ข่าวสาร

การตรวจสอบสภาพรถประจำวันก่อนการขนส่ง

บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่งมีหน้าที่ปลูกฝังความรับผิดชอบด้านกฎระเบียบ ให้พนักงานขับรถ ข้อกำหนดประการแรกที่ต้องเข้าใจ คือผู้ขนส่งต้องมีโปรแกรมการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่ารถอยู่ในสภาพที่ปลอด ภัยเสมอ ดังนั้น

การตรวจสอบและยืนยันความพร้อมของรถและอุปกรณ์ส่วนควบว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อ นการเดินทางทุกครั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนด อันจะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งช่วยลดการเสียเวลา ลดค่าใช้จ่ายจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากรถเกิดเสียระหว่างทาง หรือเกิดอาการผิดปกติระหว่างการเดินทางทำให้เสียการควบคุมรถและเกิดอุบัติเหตุขึ้นในที่สุด การตรวจสอบรถและอุปกรณ์ควรเป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนดหรือแนะนำ ดังนั้นในฐาน บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า TSM (Transport Safety Manager) ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการ ควบคุม กำกับดูแล เรื่องความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง ดังนั้น วันนี้ทาง NET จะพามารู้จักกับการตรวจสอบสภาพรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งเบื้องต้น

ตัวอย่าง รายการตรวจความพร้อมของรถโดยสารสาธารณะ ดังนี้

  • 1) ตัวถังรถมีความมั่นคงแข็งแรง
    2) ประตูทางขึ้น-ลงเปิดปิดได้ตามปกติ และประตูทางออกฉุกเฉินเปิดได้จากด้านใน
    3) ระบบไฟส่องสว่าง ไฟสัญญาณต่าง ๆ และแตร ทำงานปกติ
    4) ที่นั่งผู้โดยสารยึดติดกับตัวถังอย่างมั่นคงแข็งแรงไม่ชำรุด
    5) มีเข็มขัดนิรภัยและใช้งานได้ทุกที่นั่ง
    6) มีค้อนทุบกระจก และถังดับเพลิงตามจำนวนและตำแหน่งที่กำหนด
    7) ระบบ GPS Tracking พร้อมใช้งาน
    8) ยางรถไม่มีรอยฉีกขาด บวม นูน และความลึกของดอกยางไม่ต่ำกว่าที่กำหนด
    9) กระจกกันลมหน้า/หลัง บานหน้าต่างไม่แตกร้าวจนอาจก่อให้เกิดอันตราย

ดังนั้นเมื่อพนักงานขับรถสิ้นสุดการใช้รถ พนักงานขับรถควรตรวจสอบในจุดต่าง ๆ และลงบันทึกการตรวจเช็กหลังการใช้งานอย่างละเอียดเพื่อส่งให้พนักงานขับรถคนต่อไป หากตรวจสอบพบความบกพร่องของอุปกรณ์และส่วน ควบคุมต่างๆ เช่น ระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก ระบบคลัตช์ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบคันเร่ง ในระหว่างเดินทาง ซึ่งสิ่งที่ตรวจพบหรือคาดว่าถ้ามีการนำรถไปใช้ต่อ อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

พนักงานขับรถต้องทำการรายงานให้หัวหน้างานทราบและทำบันทึกการแจ้งซ่อมเพื่อแก้ไขทัน ที และเมื่อมีรายการแจ้งซ่อมอันเกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบความปลอดภัยในการใช้งานรถขนส่ง เราในฐานะ TSM ต้องทราบและติดตามผลการซ่อมต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว (หลังการแจ้งซ่อม - รถซ่อมเสร็จ) จะต้องไม่มีการนำรถขนส่งที่กล่าวถึงไปใช้งานโดยเด็ดขาด

ตัวอย่าง การตรวจสภาพรถบรรทุกก่อนใช้งานแบบ BE-WAGON