ข่าวสาร

การติดป้ายและทำเครื่องหมายที่ตัวรถ

การขนส่งสินค้าอันตรายนั้น มีความอันตรายเฉพาะและสามารถทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้ หากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นไม่ทำการแสดงสัญลักษณ์ความเป็นอันตรา ยที่ตัวรถหรือหน่วยขนส่งที่ใช้สำหรับการบรรทุกให้ผู้อื่นทราบ ซึ่งการขนส่งผ่านช่องทางต่างๆนั้น จะมีข้อกำหนดในการขนส่งที่เฉพาะเจาะจงและมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่ยังคงยึดแกนกลางจากข้อนำแนะในการขนส่งสินค้าอันตรายโดยสหประชาชาติ หรือ UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods อย่างเคร่งครัด

ตามข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน หรือ Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR) ได้มีการกำหนดเรื่อง การติดป้ายและทำเครื่องหมายที่ตัวรถขนส่ง ไว้เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่าย เคลื่อนย้าย ขนส่งสินค้าอันตราย และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ทราบถึงความเสี่ยงของสินค้าอันตราย และใช้ความระมัดระวังในการจัดการเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ข้อกำหนด ADR และการขนส่งรูปแบบอื่นๆ

จึงมีการกำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุสินค้าอันตรายต้องมีการติดฉลากแสดงประเภทความเป็นอันตร าย และทำเครื่องหมายด้วยหมายเลขสหประชาชาติ

การติดป้ายและทำเครื่องหมายที่ตัวรถ

กรมการขนส่งทางบก ได้ออกประกาศ เรื่อง ป้าย อักษร ภาพ และเครื่องหมายของรถบรรทุกวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดให้รถส่งสินค้าอันตรายต้องติดป้าย และเครื่องหมายที่เป็นไปตามข้อกำหนด ADR ดังนั้นจึงจำเป็นสำหรับพนักงานขับรถทุกคนที่ต้องทราบ และสามารถนำไปปฏิบัติติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

การติดป้ายที่ตัวรถ
ตามข้อกำหนด ADR พนักงานขับรถมีหน้าที่ในการติดและถอดป้ายแสดงความเป็นอันตรายที่รถ โดยการขนส่งสินค้าอันตรายในแท็งก์ หรือในรูปแบบเทกองต้องติดป้ายแสดงความเป็นอันตรายที่ด้ายข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของส่วนบรรทุกสินค้าอันตราย โดยขนาดของป้าย (ที่เป็นฉลากขนาดใหญ่) ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 25 x 25 เซนติเมตร

การทำเครื่องหมายด้วยแผ่นป้ายสีส้มที่ตัวรถ
ตามข้อกำหนดของ ADR พนักงานขับรถมีหน้าที่ในการติดและถอดแผ่นป้ายสีส้มที่ตัวรถ การติดแผ่นป้ายสีส้มสะท้อนแสงที่ตัวรถ เป็นการเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนระมัดระวังที่จะไม่เป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุกับรถที่ติดแผ่นป้า ยสีส้มดังกล่าว รวมทั้งในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หน่วยกู้ภัยหรือพนักงานดับเพลิงก็สามารถใช้ข้อมูลและรหัสตัวเลขที่อยู่บนแผ่นป้ายสีส้มในการแก้ไ ขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

แผ่นป้ายสีส้มสามารถแบ่งได้เป็นสองรูปแบบ คือ แบบมีตัวเลขและแบบไม่มีตัวเลข แบบมีตัวเลขใช้กับการขนส่งสินค้าอันตรายด้วยแท็งก์ และในรูปแบบเทกอง ส่วนแบบไม่มีตัวเลขใช้กับการขนส่งสินค้าอันตรายในรูปแบบหีบห่อ และบนหน่วยขนส่งหรือรูปแบบแท็งก์และเทกองสำหรับการบรรทุกในบางลักษณะ เช่น รถแท็งก์ที่มีหลายช่องบรรทุก และขนส่งสินค้าอันตรายหลายชนิดไปพร้อมกัน ให้ติดป้ายสีส้มแบบไม่มีตัวเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังหน่วยขนส่ง การขนส่งแบบเทกองที่ภาชนะเทกองสามารถยกขึ้นลงจากหน่วยขนส่งได้ เป็นต้น

ขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดของแผ่นป้ายสีส้ม คือ ขนาดฐาน 40 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร (สามารถเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าได้ ± 10%) สำหรับรถบรรทุกสินค้าอันตรายทั่วไป แต่ในกรณีของการใช้รถขนาดเล็ก ขนาดของแผ่นป้ายสีส้มสามารถลดลงได้โดยขนาด 30 เซนติเมตร และสูง 12 เซนติเมตร ตัวเลขบนแผ่นป้ายสีส้มต้องคงทนไม่ลบเลือนและสามารถอ่านได้ หลังจากถูกเผาไหม้ในกองเพลิงที่ลุกท่วมเป็นเวลา 15 นาที